กล้องบันทึกการจับกุม” คุ้มครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน
# “ กล้องบันทึกการจับกุม” คุ้มครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน
สืบเนื่องจากกรณี”ตำรวจทางหลวง” ถูกคนร้ายขับรถหลบหนี แล้วหักหัวรถตัดขวางรถจักรยานยนต์คันที่ตำรวจทางหลวงซึ่งกำลังขับขี่รถเปิดไซเรนไล่ติดตามคนร้ายที่กำลังเร่งเคลื่อนหลบหนีด้วยความเร็ว จนเป็นเหตุให้ตำรวจทางหลวงนำ้ดีต้องประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันที กรณีนี้จะเป็นตัวอย่าง อันดีที่แสดงให้เห็นว่าในขณะปฎิบัติหน้าที่ ตำรวทางหลวงท่านนี้ได้ติดกล้องที่บันทึกภาพและเสียงตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด จึงทำให้เราเห็นว่า เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ทั้งก่อนเกิดเหตุ , ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ จาก “ภาพและเสียง” ที่บันทึกได้จากกล้องติดหมวกของตำรวจทางหลวง จึงเป็น ”พยานหลักฐานสำคัญ”ในการ “จับกุม” คนร้ายผู้ก่อเหตุ อันนำไปสู่การแจ้งข้อหาและการไม่อนุญาตจากศาลให้มีการปล่อยตัวผู้ก่อเหตุ ในครั้ง สถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไปถ้า…….
“ไม่มี” กล้องติดหมวกที่สามารถบันทึกได้ทั้งภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ตำรวจทางหลวง ได้เข้าไปสอบถามถึงสาเหตุการจอดรถริมทางหลวงสายมอเตอร์เวย์ ซึ่งห้ามจอด จนกระทั่งไปพบเห็น” สภาพ” คนขับรถและ” ขวดเบียร์” บนเบาะที่นั่งรถ และบุหรี่ไฟฟ้า
และอาจ “ไม่เห็น” พฤติการณ์ของคนร้ายที่เจตนา จงใจที่จะหักหัวรถมาทางด้านซ้ายในลักษณะตัดขวางรถจักรยานยนต์คันที่ตำรวจทางหลวงเปิดไซเรนไล่ติดตามด้วยความเร็ว แม้ว่า… จะปฏิเสธว่า…….ก็ตาม
การที ตนเองขับรถออกไปจากที่เกิดเหตุทั้งทั้งที่ ตำรวจทางหลวง เรียกตรวจสอบปริมาณแอลกอฮอลล์ (จากภาพและเสียงที่ปรากฎ) และความเร็วรถที่คนร้ายขับหลบหนี การขับรถแซงไปทางด้านซ้ายและด้านขวา แซงรถรถยนต์คันอื่นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่เสียงรถจักรยานยนต์และเสียงไซเรนของตำรวจทางหลวงไล่ติดตาม จึงยากที่จะปฏิเสธว่า ตนไม่ได้หลบหนี และการที่หักหัวรถมาทางด้านซ้ายในลักษณะตัดขวางรถจักรยานยนต์คันที่ตำรวจทางหลวงกำลังไล่ติดตามจับกุม ย่อม “เล็งเห็นผล” (ซึ่งถือว่าเป็นเจตนาทางกฎหมาย) ได้อยุู่แล้วว่า เมื่อรถของตนเองตัดขวางรถจักรยานยนต์คันที่ตำรวจทางหลวงไล่ติดตามด้วยความเร็ว รถทั้งสองคันย่อมพุ่งเข้าชนกัน และเมื่อรถยนต์ กับ รถจักรยานยนต์(เนื้อหุ้มเหล็ก ผลย่อมเป็นเช่นใด ย่อม”คาดหมาย”ได้ว่าผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์อาจถึงตายได้ และเมื่อตำรวจทางหลวงผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไล่ติดตามถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุทันที จึงยากที่ปฏิเสธว่า ตนเอง” มิได้มีเจตนาฆ่า”ได้“กล้องติดหมวก” ซึ่งสามารถ “บันทึกได้ทั้งภาพและเสียง” จึงเป็น “พระเอก” และเป็น “ พยานหลักฐานสำคัญ” ในอันที่จะคุ้มครองทั้ง “เจ้าหน้าที่ผู้จับกุม” ดังเช่นคดีนี้ และเป็น “พยานหลักฐานสำคัญในการคุ้มครองประชาชนผู้บริสุทธิ์ มิให้ถูกกลั่นแกล้ง หรือยัดข้อหา” เพื่อ “ประชา” และ “เจ้าหน้าที่รัฐ” อุ่นใจ
ถ้า “ไม่มี” ภาพที่บันทึกได้จากกล้องติดหมวกของตำรวจทางหลวง (แม้จะมีภาพที่บันทึกได้จากกล้องหน้ารถคันอื่นก็ตาม แต่จะเห็นแค่ปลายเหตุขณะเฉี่ยวชน ) เหตุการณ์ก็อาจเป็นเรื่อง “อุบัติเหตุ”รถยนต์และรถจักรยานยนต์ของตำรวจทางหลวง ขณะปฏิบัติหน้าที่เชี่ยวชนกับรถยนต์บนถนนสายมอเตอร์เวย์จนตำรวจทางหลวงเสียชีวิต ก็ได้ คงถึงเวลาแล้วที่ ……
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ผู้ใช้อำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลจะต้องมีการ “บันทึกภาพและเสียง” การจับกุม หรือขณะปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานให้ได้รับความเป็นธรรม ไม่ต้องถูกร้องเรียนจากการปฏิบัติหน้าที่ บัดนี้…..พ.ร.บ ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ก็มีผลใช้บังคับแล้ว แล้วเหตุใดจึงออก พ.ร.กแก้ไขเพิ่มเติมฯ มาเลื่อนการบังคับใช้ มาตรา 22, 23,24,25 ซึ่งเป็นเรื่อง “ ในการควบคุมตัว เจาหน้าที่ของรัฐต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุม” และในการควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องบันทึกข้อมูลเกียวกับผู้ถูกควบคุมตัว ฯ โดยเหตุผลตามหมายเหตุท้าย พ.ร.ก. คือ ความไม่พร้อมของหน่วยงาน เมื่อเทียบสัดส่วน “ความไม่พร้อม” กับ “การปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตลอดจนเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับการคุ้มครองจากการปฏิบัติหน้าที่”
ท่านคิดว่า….อะไรจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด นายวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์
อัยการศาลสูงจังหวัดสมุทรปราการ
รองประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (คนที่สอง)ในคณะกรรมาธิการ การกฏหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร
บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
#รถไฟฟ้าสายสีแดง ยกระดับคุณภาพชีวิตชานเมือง
https://www.facebook.com/REDLineSRTET
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น